
คุณแม่บ้านบางคนอาจเคยมีปัญหาคนในบ้านเป็นภูมิแพ้ ไม่ว่าจะเป็นภูมิแพ้ทางผิวหนัง หรือระบบทางเดินหายใจ บางคนอาจเคยมีประสบการณ์คนในบ้านแพ้น้ำยาปรับผ้านุ่มโดยตรง
วันนี้จะมาคุยถึงอาการการแพ้น้ำยาปรับผ้านุ่ม และได้หาวิธีแก้ไขมาให้แล้ว แต่จะมีขั้นตอนอะไรบ้าง? ไปอ่านกันเลยดีกว่าค่า

อาการการแพ้น้ำยาปรับผ้านุ่มของแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน บางคนอาจรู้สึกคัน ไม่สบายผิว โดยอาจไม่มีผื่นแดงให้เห็น บางคนอาจมีอาการทางระบบลมหายใจ หายใจขัด หายใจลำบาก
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีความสงสัยว่าอาจแพ้น้ำยาปรับผ้านุ่มควรหยุดใช้น้ำยาปรับผ้านุ่มทันที และนำเสื้อผ้า ผ้าปูที่นอน ผ้าห่ม หมอนในบ้านที่เคยสัมผัสน้ำยาปรับผ้านุ่มมาซักใหม่ให้สะอาด
ในขณะเดียวกัน เมื่อภูมิแพ้กำลังกำเริบ (Flare) ควรหลีกเลี่ยงสารที่อาจกระตุ้นภูมิแพ้เช่น ฝุ่น ไรฝุ่น ขนสัตว์ น้ำหอม เป็นต้น

เชื่อว่าคุณแม่บ้านแต่ละคนมีวิธีจัดการเอาน้ำยาปรับผ้านุ่มเคมีออกจากผ้า หรือเสื้อผ้า ต่างกัน
วันนี้ขอเสนอใช้ น้ำส้มสายชู และน้ำยาซักผ้า(ที่คุณไม่แพ้) ในการซัก วิธีง่ายๆก็คือ
ข้อแรกทำความสะอาดเครื่องซักผ้า และช่องใส่น้ำยาซักผ้า และน้ำยาปรับผ้านุ่มให้สะอาด ใช้ผ้าชุบน้ำยาซักผ้า(ที่ไม่แพ้) เช็ดทำความสะอาดช่องใส่น้ำยาซักผ้า และน้ำยาปรับผ้านุ่ม เทน้ำยาซักผ้าในช่องใส่น้ำยาซักผ้าและเปิดเครื่องซักผ้า ให้ทำงาน(โดยไม่มีผ้า) 1 หรือ 2 รอบก่อนซัก
จากนั้น โหลดผ้าที่ต้องการซักในเครื่องซักผ้า เทน้ำยาซักผ้าใส่ในช่องใส่น้ำยาซักผ้า และเทน้ำส้มสายชูประมาณ ½ ถ้วยลงในช่องใส่น้ำยาปรับผ้านุ่ม ปรับอุณหภูมิน้ำเป็นน้ำร้อน แล้วเปิดเครื่องทำงานตามปกติ
น้ำส้มสายชู และน้ำร้อนจะช่วยชะล้างคราบน้ำยาปรับผ้านุ่มซึ่งโดยปกติเป็นคราบไขมันได้ คุณแม่บ้านไม่ต้องห่วงว่าผ้าจะมีกลิ่นน้ำส้มสายชู เพราะโดยการทำงานของเครื่องซักผ้าแล้ว น้ำส้มสายชูจะถูกทำให้เจือจางจากน้ำ และถูกน้ำชะล้างออกไป หากคนที่แพ้น้ำยาปรับผ้านุ่มมาก อาจต้องซักมากกว่า 1 ครั้ง เพื่อขจัดคราบน้ำยาปรับผ้านุ่มที่อาจหลงเหลือบนผ้า

การเลือกผลิตภัณฑ์ซักผ้าในครั้งต่อไป ควรอ่านฉลากให้ถี่ถ้วน ปัจจุบันน้ำยาซักผ้าบางชนิดอาจผสมน้ำยาปรับผ้านุ่มไปด้วย โดยอาจเลือกผลิตภัณฑ์ที่เชื่อถือได้ว่า ผ่านการทดสอบการแพ้ ไม่มีส่วนผสมของสารเคมี และไม่ทิ้งสารตกค้างให้ระคายเคืองผิว อย่างน้ำยาซักผ้า และน้ำยาปรับผ้านุ่มพิพเพอร์ สแตนดาร์ด